ปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต โดยเฉพาะแอร์เนื่องจากสภาพอากาศเมืองไทยช่างร้อนอบอ้าวเกินบรรยาย แต่พอเปิดบิลค่าไฟแต่ละเดือนก็แทบลมจับ นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่หลายบ้าน หรือคนทำธุรกิจมีออฟฟิศของตนเองจำนวนมากเริ่มสนใจติดตั้ง “โซล่าเซลล์” เพื่อช่วยเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามก่อนเลือกติดตั้งลองมาศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนว่าสรุปแล้วคุ้มกับการลงทุนจริงหรือไม่
ระบบโซล่าเซลล์ที่นิยมติดตั้งกันในปัจจุบัน
ถือเป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หลักการทำงานเบื้องต้นคือทั้งไฟฟ้าปกติและไฟฟ้าจากตัวแผงโซล่าจะทำงานพร้อมกันโดยไม่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่จึงไม่ต้องกังวลใจเรื่องไฟตก ไฟกระชาก ค่าบำรุงรักษาน้อยและยังสามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แต่จุดด้อยคือไม่สามารถเก็บไฟเอาไว้ใช้สำรองในตอนกลางคืนหรือใช้ยามฉุกเฉิน จึงเหมาะกับคนที่นิยมใช้ไฟตอนกลางวันเยอะและพื้นที่อยู่อาศัยมีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว
ระบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าปกติมีทั้งลักษณะไม่ใช้แบตเตอรี่ หากแดดแรงช่วงไหนก็ทำงานได้ดี กับแบบชาร์จไฟเก็บเอาไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ตอนกลางคืนหรือยามฉุกเฉิน เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าเข้าไม่ถึง แต่มีราคาสูงและต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงระยะที่กำหนดประมาณ 5-7 ปี
เป็นการนำทั้ง 2 ระบบมารวมกัน อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือคล้ายกับระบบ On – Grid ที่มีแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟเอาไว้ ซึ่งในเมืองไทยไม่ค่อยนิยมมากนักเนื่องจากมีการตั้งกฎหมายควบคุมมาตรฐานการจ่ายไฟรองรับ ว่าด้วยเรื่องไฟแต่ละพื้นที่จะดับได้ไม่เกินปีละกี่นาที หากเกินมากกว่านั้นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบแก้ไขทันที
ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องทำอะไรบ้าง
การคำนวณความคุ้มค่าหากคิดติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับบ้าน
มาถึงสิ่งสำคัญของคนที่วางแผนอยากติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้กับบ้านหรือออฟฟิศขนาดเล็กของตนเอง จริงแล้ววิธีนี้จะช่วยประหยัดค่าไฟได้หรือไม่ หลักสำคัญต้องเริ่มจากสังเกตพฤติกรรมของคนที่อยู่อาศัยร่วมกันว่ามีการใช้ปริมาณไฟมากน้อยแค่ไหน เหมาะกับขนาดแผงโซล่าเซลล์แบบใด โดยเฉพาะคนที่ติดระบบ On – Grid หากใช้ไฟตอนกลางวันเยอะ เช่น เปิดแอร์ ทีวี ประจำแบบนี้ก็ถือว่าน่าสนใจ ซึ่งมีหลักการคำนวณหาขนาดแผงง่าย ๆ มาให้ลองประเมินกันด้วย
สูตรการคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์: ค่ากำลังไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า x จำนวนที่ใช้ x จำนวนชั่วโมงที่ใช้) / 5
เช่น
เมื่อแทนค่าสูตรก็จะได้เป็น (1,200 x 1 x 7) + (13 x 5 x 5) + (120 x 2 x 5) / 5
ผลลัพธ์ที่ได้คือ (1,680 + 325 + 1,200) / 5 = 641 วัตต์ ก็สามารถใช้แผงขนาด 1 กิโลวัตต์ ได้ เป็นต้น (แต่ส่วนใหญ่บ้านทั่วไปหรือออฟฟิศขนาดเล็กเมื่อคำนวณผลออกมาทั้งหมดมักใช้ไม่เกินแผง 5 กิโลวัตต์ หรือ 5,000 วัตต์)
คำถามต่อมาคือแล้วใช้แผงโซล่าเซลล์คุ้มกับการลงทุนจริงหรือไม่? โดยทั่วไปค่าอุปกรณ์ ค่าติดตั้ง รวมค่าขออนุญาตต่อครั้งจะอยู่ประมาณ 1.5-2 แสนบาท ซึ่งอัตราค่าไฟที่จะช่วยประหยัดได้ต่อเดือนตามขนาดแผงเป็นดังนี้
ดังนั้นสมมุติว่าคุณใช้แผง 5 กิโลวัตต์ ลงทุนติดตั้งประมาณ 150,000 บาท จะใช้ระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 6-8 ปี (ซึ่งอัตราเฉลี่ยการคืนทุนทั่วไปจะอยู่ราว 6-10 ปี)
สรุปแล้วการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับบ้านคุ้มจริงหรือไม่?
ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก็อย่างที่บอกไปนั่นคือปริมาณการใช้ไฟ ช่วงเวลาการใช้ไฟ รวมถึงจำนวนอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยคำนวณเฉลี่ยตามสูตรที่บอกแล้วเลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสม ยิ่งถ้าใครใช้ไฟเยอะช่วงตอนกลางวันหรือสังเกตว่าบิลค่าไฟแต่ละเดือนเกินหลัก 2,000 บาท แบบนี้การติดตั้งจัดว่าน่าลงทุนและช่วยคืนทุนได้เร็ว แถมประหยัดไฟในระยะยาว แต่ถ้าบ้านไหนค่าไฟไม่สูงมาก ไม่ค่อยเปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า แบบนี้ก็จ่ายค่าไฟปกติไม่ต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่นับเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่า
.
ที่มาข้อมูล :
https://workpointtoday.com/solar-roof-top/
https://faifaaoutlet.com/สูตรคำนวณ-การใช้แผงโซล่/
https://www.powercreation.co.th/คุ้มค่าไหมถ้าติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้าน
Date : 08 Nov 2024